วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีเลี้ยงปลากัดให้กัดเก่ง



วิธีเลี้ยงปลากัดให้กัดเก่ง

คุณสันธนะ พันธุมะโชติ หรือที่หลายคนเรียกชื่อสั้นๆ ว่า "น้าต้อม" เป็น คนทุ่งครุกรุงเทพมหานคร สนใจเลี้ยงปลากัดมาตั้งแต่เด็กขณะที่มีอายุได้ 7-8 ขวบ หัดเพาะปลากัดมาตั้งแต่เด็กได้ครอกหนึ่ง 5-10 ตัว ก็ดีใจแล้ว มาถึงปัจจุบันอายุได้ 45 ปี จากประสบการณ์ในการเลี้ยงปลากัดมานานกว่า 30 ปี มีบ่อปลากัดประมาณ 100 วงบ่อ เน้นการพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นักสู้ โดยพัฒนาสายพันธุ์ มาจากปลากัดป่า อาทิ ปลากัดอีสาน, ปลากัดใต้และ ปลากัดมหาชัย เป็นต้น และขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานชมรมปลากัดจตุจักรทุ่ง ครุและมีการจัดการ ประกวดปลากัดชนิดต่างๆ เป็นประจำทุกปี

คุณสันธนะ ได้บอกถึงคุณลักษณะของปลากัดเก่งจะต้องไม่เลี้ยงแบบข ุนอาหารอย่างเดียว ถ้าปลาอ้วนไปจะไม่คล่องตัว และปลาที่จะออกกัดได้ควรจะมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 1 ปีครึ่ง ถ้าอายุมากกว่านี้จะกัดไม่เก่งแล้ว เทคนิคในการเลี้ยงปลากัดเก่งของคุณสันธนะจะเน้นในการ กัดปากและกัดตาคู่ ต่อสู้ มีเชิงกัดดุและกัดได้อย่างรวดเร็ว "กัดปาก กัดตาและกัดเร็ว" คืออาวุธที่สำคัญของปลากัดเก่งและมีโอกาสชนะสูง ในการกัดปลาแต่ละครั้งจะต้องดูด้วยว่าปลาที่จะมากัดก ันจะต้องมีอายุที่ใกล้ เคียงกัน มีบางคนนำปลาที่อายุน้อย (แต่ตัวใหญ่) ไปกัดกับปลาที่อายุมากกว่าถึงแม้จะขนาดตัวเล็กกว่าก็ ตาม โอกาสปลาที่มีอายุน้อยแพ้มีสูงมาก เนื่องจากเขี้ยว, หนังและความแข็งแกร่งเทียบกันไม่ได้

ในการเพาะขยายพันธุ์ปลากัดที่ฟาร์มแห่งนี้จะเน้นในกา รดูแลตัวเมียให้มี ความ สมบูรณ์ กระตุ้นตัวเมียด้วยการเอาตัวผู้มาเทียบกันประมาณ 3-4 วัน ในขณะที่เทียบกันนั้นทุกเช้าและเย็นจะนำตัวเมียปล่อย ลงไปให้ตัวผู้ได้ไล่สัมผัสกันหรือที่วงการปลากัดเรีย กว่า "พาล" โดยปล่อยครั้งละประมาณ 5 นาที แล้วแยกออกมาเพื่อกระตุ้นให้ไข่ปลาได้สุกเร็ว แม่ปลาที่มีความสมบูรณ์จะเพาะได้ถึงครอกละ 500-700 ตัว

คุณสันธนะได้สรุปถึงประเภทของอาหารที่จะใช้เลี้ยงปลา กัดให้กัดเก่งว่า ถ้าใช้ลูกไรจะเลี้ยงได้ตั้งแต่เล็กจนโตจะช่วยให้หนัง ดี ตัวแห้งและไม่อ้วน สำหรับไรทะเลไม่ควรให้ปลากัดกินเนื่องจากมีความเค็ม ถ้าปลากัดกินมากจะถ่ายมากทำให้ปลาหมดกำลัง สูตรสำหรับเสริมอาหารแนะนำให้ใช้กุ้งฝอยทั้งเปลือกปั ่นกับไข่ตุ๋นช่วยให้ปลา มีกำลังดีขึ้นหรืออาจจะใช้เนื้อปลาทูนึ่งยีให้ละเอีย ดและปั้นให้เป็นเม็ด เล็กๆ ขนาดขี้ไคลก็ได้

ปัจจุบันราคาซื้อ-ขายปลากัดที่จะนำไปเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ของปลากัดเก่งถ้า เป็น ปลากัดป่าตัวเมียราคา 300 บาท, ตัวผู้ราคาตัวละ 100 บาท ถ้าเป็นปลากัดหม้อตัวเมียตัวละ 400 บาท ตัวผู้ 150 บาท

รูปแบบและมาตรฐานปลากัด


รูปแบบและมาตรฐานปลากัด


มาตรฐานทั่งไปเป็นมาตรฐานที่ปลากัดทุกประเภทต้องมีร่วมกัน ปกติลักษณะทั่วไปจะเน้นที่ความสมบูรณ์และพัฒนาลักษณะต่างๆของปลากัด สำหรบมาตรฐานทั่วไปจะประกอบด้วย47ส่วนหลักๆ 4 ส่วนคือ โครงสร้าง รูปแบบ ความสมบูรณ์ และท่าทางอาการ

การพิจารณาโครงสร้างของปลาจะพิจารณาถึงขนาด ความสมดุล และสัดส่วนของปลา

ขนาดของลำตัว
ขนาดของปลากัดเพศผู้ ปลาประกวดโดยปกติจะต้องมีความยาวอย่างน้อย1.5นิ้ว ของปลากัดเพศเมียต้องมีความยาวอย่างน้อย 1.25 นิ้ว


ครีบหลัง ขนาดความกว้างของครีบวัดจากฐานของก้านครีบที่อยู่ตรงกลางครีบไปจรดส่วนปลายของครีบที่สูงที่สุด จะต้องกว้างอย่างน้อย1ใน4ของความยาวลำตัว
ครีบหาง ขนาดความยางของครีบหาง วัดจากจุดกึ่งกลางที่ติดโคนหาง ถึงจุดกึ่งกลางของส่วยปลายหาง (ไม่ส่วนที่ยาวที่สุด) จะต้องอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว
ครีบท้อง หรือตะเกียบ ไม่มีมาตรฐานกำหนดตายตัว โดยทั่วไปความกว้างและความยาวของครีบจะต้องสมส่วนกัน
ครีบอก หรือครีบหู เป็นครีบที่พิจารณาค่อนข้างยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นครีบกระจก อย่างไรก็ตามโดยทั่วๆไปควรจะเป็นครีบที่แผ่เต็มและมีขนาดใหญ่
ความสมดุลของรูปร่าง
ปลากัดที่สวยงามสมบูรณ์ ซึ่งอาจพบค่อนข้างยาก ควรจะมีความสมดุลระหว่างสองข้างของเส้นที่ลากผ่านกลางตัวด้านข้าง ทั้งในแนวขนานและในบางชนิดจะเป็นในแนวดิ่งด้วย ซึ่งในแนวขนานอาจรวมถึงความสมดุลของครีบหางทั้ง2ซีกด้วย

สัดส่วนปลากัดที่สวยงามมักมีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ขนาดของลำตัวจะต้องเป็นสัดส่วนที่พอดีกับขนาดของครีบด้วย จึงจะทำให้ปลาที่ครีบใหญ่มากๆก็ควรจะมี่ลำตัวขนาดใหญ่ด้วย

ประเภทของหาง

ปลากัดหางคู่ ปลากัดหางคู่จะมีลักษณะที่แตกต่างจากปลากัดห่างเดียวคือ

มีหางแยกเป็น2หาง ลักษณะที่สมบูรณ์จะแยกเป็น2ส่วน โดยสมบูรณ์ถึงโคนหาง การทับ ซ้อนของหางทั้ง2ส่วนถือเป็นลักษณะที่ดี
ปลากัด2หาง จะมีโคลนหางใหญ่เพื่อรองรับหางที่แยกเป็น2ส่วน
ปลากัด2หาง จะมีครีบหลังใหญ่กว่าในขนาดที่เกือบเท่าครีบหาง
ลำตัวของปลากัด2หาง ปกติจะอ้วนและสั้นกว่าปลาหางเดี่ยวเล็กน้อย

ปลาหางคู่ปกติครีบหลังจะใหญ่กว่าปลากัดหางเดี่ยว ครีบหลังที่สมบูรณ์ควรจะมีลักษณะขนาดรูปร่างเหมือนครีบก้น

ครีบหางเป็นครีบที่มีรูปแบบหลากหลายมากที่สุด รูปแบบโดยทั่วไป สำหรับปลาหางเดี่ยวแบ่งเป็น5รูปแบบ คือหางกลม หางรูปสามเหลี่ยม หางปลายแหลม หางย้วย และหางรูปใบโพธิ์

หางทุกรูปแบบควรมีการกระจายกันของก้านครีบเท่ากัน ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างที่ลากผ่านแนวขนานลำตัว ปกติหางที่สมบูรณ์พิจารณาจากความกลมและแผ่เต็ม

ในกรณีของปลาหางคู่ ลักษณะหางจะเป็นลักษณะที่เชื่อมต่อกันจนปลายหางเป็นเส้นตรงหรือเว้าเล็กน้อย หรือเว้ามากเป็นรูปหัวใจ หรือหางแยกที่ซ้อนทับเกยกันหรือหางที่แยกจากกันเต็มที่โดยไม่ซ้อนทับหรือเป็นหางที่เว้าลึกในระดับต่างๆแต่ไม่แยกจากกันเด็ดขาด

ครีบก้น ลักษณะของครีบที่ดีควรจะมีขอบครีบส่วนหน้าและส่วนหลังขนานกัน และค่อยๆโค้งไปทางด้านหลัง ขอบด้านหน้าและขอบด้านหลังจะต้องไม่เรียวแหลมเข้าหากัน ลักษณะที่ดีจะต้องแผ่กว้างทำมุม และซ้อนทับเป็นเนื้อเดียวกันกับคีบหางแต่ไม่เชื่อมต่อกับครีบหาง

ครีบท้อง ลักษณะควรเหมือนใบมีดที่ด้านคมอยู่ด้านหลัง ขอบด้านหน้าโค้งเข้าเล็กน้อย ปลายแหลม ครีบทั้งคู่ควรมีความยาวและขนาดเท่ากัน และไม่ไขว้กัน ครีบจะต้องไม่สั้น หรือกว้างเกินไปและไม่ยาวหรือแคบเกินไป ครีบท้องของตัวเมียปกติจะมีลักษณะสั้นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนของลำตัว

ครีบอก ในปลากัดเป็นครีบที่มีความสำคัญที่สุดในการว่ายน้ำและการทรงตัวในน้ำ ครีบที่สมบูรณ์ควรกว้างและยาว

สภาพของปลา


การพิจารณาสภาพของปลาจะพิจารณาจากสุขภาพของปลา และระดับความชำรุดเสียหายของครีบและลำตัว ซึ่งมีผลต่อภาพรวมของปลากัด ปลาควรจะมีความสมบูรณ์ เคลื่อนไหวกระปี้กระเป่า มีครีบและลำตัวที่สมบูรณ์

ปลาที่อายุมากเกินไปจะทำให้มีสภาพด้อยลง เช่น อาจจะโตเกินไป และก้านครีบคดงอ

ลำตัว ประเด็นหลักจะต้องดูสมบูรณ์ รอยแผล เกล็ดหลุด เกล็ดพอง หรืออาการผิดปกติใดๆบนลำตัวถือเป็นข้อด้อย

ครีบ ครีบเป็นส่วนที่ทำให้ปลากัดมีความสวยงาม ครีบปลาทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยครีบคู่1 และครีบเดี่ยว3ครีบ ควรมีลักษณะร่วมที่เหมือนๆกันดังนี้

ก้านครีบควรจะตรง และขนาน หรือแผ่ออกอย่างเป็นระเบียบจากฐานครีบที่อยู่ใกล้ลำตัวสู่ขอบนอกของครีบ
ก้านครีบอาจยื่นยาวเลยแผนครีบ ในกรณีเช่นนี้ทุกครีบควรมีก้านครีบยื่นเลยแผ่นครีบเหมือนกัน และระยะห่างเท่าๆกัน
แผ่นครีบจะต้องเต็ม แข็งแรง ไม่ชำรุด ขอบขอบของแผ่นครีบควรเรียบ (ยกเว้นปลาที่มีก้านครีบยกเลยแผ่นครีบ) และไม่ฉีกขาด
ครีบควรจะแผ่สวยงามในรูปแบบที่เหมือนกัน
ลักษณะท่าทาง
ที่เป็นประเด็นหลักในการสังเกตคือ การพองตัว ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงความปราดเปรียว กระฉับกระเฉง แล้วยังจะทำให้เห็นความสวยงามของสีและลักษณะอื่นๆ ท่าทีเซื่องซึมมักเป็นลักษณะของปลาที่ผิดปกติหรือปลาที่ตกใจ

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปลากัด




ปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่า




เป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไป
ขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาว
ครีบก้น ครีบหลัังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทา
แกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตจะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีด
และมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้อง
ระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไว
แต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้



ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ



เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะนอกจากจะกัดเก่ง ทรหดอดทนแล้ว ยังมีสีสัน
ตามลำตัวสวยงาม เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ปลากัด
หม้อจะมีลักษณะตัวโตกว่าปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง แต่ครีบหางครีบหลังจะ
สั้นกว่า หางสั้นเป็นรูปพัดไม่ค่อยตื่นตกใจง่าย ส่วนตัวเมียครีบหางครีบหลังและ
ตะเกียบสั้น สีซีดกว่าตัวผู้ ปลากัดหม้อเกิดจากการคัดสายพันธุ์ลูกทุ่งลูกป่า จับ
มาเลี้ยงมาฝึกให้ต่อสู้และอดทน ผสมพันธุ์กันจนได้สายพันธุ์ใหม่กันขึ้นมา
ว่ากันว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน

ปลากัดจีน




เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงาม
ฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและ
ตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะำม่มี
ความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม

ปลากัดเขมร



เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศ
เป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยง

เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้
เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัด
จึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบน
เพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยก
ปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้
ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆ
ทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ
1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม
ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาด
มักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง
มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมี
ขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสีย
หายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดู
เพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้


1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน
ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว
2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัด
ีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่า
ของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของ
ตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย
สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่า
ลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัด
มีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมีย
แม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้ว จึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่ ี่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุรา
ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหา
ได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวด
พิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้น
เปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่ง
ทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็น
ขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภท
หรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่าย
ในท้องตลาด

นอกจากนั้นแล้วต้องหาสถานที่ๆ ค่อนข้างจะสงบเงียบ
และมีอากาศถ่ายเทได้ดี โดย เฉพาะในฤดูร้อน เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้อุณหภูมิน้ำสูงเกินไป
อันจะเป็นสาเหตุ ให้ปลาตายได้ อุณหภูมิที่เหมาะสม
ไม่ควร ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส ควรอยูุ่่ระหว่าง
26-28 องศาเซลเซียส หากเป็นช่วงหน้าหนาวก็ไม่
ควรให้ต่ำกว่า 20องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ปลา
ไม่กินอา่หารและทำให้้ปลาตายได้

ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัดควรเป็นภาชนะขนาดเล็กที่ไม่
สิ้นเปลืองพื้นที่ มีช่องเปิดไม่กว้่างเพื่อป้องกันปลากระโดด
และป้องกันศัตรูของปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ ภาชนะที่เหมาะสม ที่สุดที่ควรนำมาใช้ในการเลี้ยงปลากัดได้แก่
ขวด(สุรา) ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถวางเร่ยงกันได้ดีไม่สิ้นเปลืองพื้นที่ และ
ปากขวดแคบๆ สามารถป้องกันปลา
กระโดดและป้องกันศัตรูได้เป็นอย่างดี และหากมีเนื้อที่น้อยก็สามารหถทำชั้นวางขวดปลากัด
เป็นชั้นๆ แบบขั้นบันไดได้

ต้นตระกูลปลากัดไทย






นับแต่การสร้างชาติไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัย การชนไก่ กัดปลา เป็นเกมการพนันที่ได้รับการจารึกว่า เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมาแต่โบราณ อันที่จริงแล้ว เกมกีฬาการกัดปลาของชาวไทยนั้น นอกจากปลากัดแล้วยังมีปลาอีกสองชนิด ที่นำมากัดแข่งขันกันคือ ปลาหัวตะกั่ว และปลาเข็ม แต่ก็ไม่แพร่หลาย ติดใจคนทั่วไปเหมือนปลากัด ทั้งนี้เนื่องมาจากสัตว์น้ำชนิดนี้นอกจากจะมีน้ำอดน้ำทนในการต่อสู้เป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว ลีลาการต่อสู้ก็เต็มไปด้วย ชั้นเชิงและศิลปะ และเหนือสิ่งอื่นใดนักรบจิ๋วเหล่านี้จะสง่างามยิ่งในระยะเวลาที่เข้าต่อสู้ ความสวยงามตามธรรมชาติของปลากัดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนนิยมปลาชนิดนี้จึงเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงสวยงามและนักกีฬาตัวโปรดของคนไทย

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์



การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด
เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ1เดือนครึ่งถึงสองเดือน การเลี้ยงปลากัด จึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัว ก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะที่สุดสำหรับการ เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด (สุรา) ชนิดบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถเรียงกันได้โดยไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศ จะสังเกตุเห็นว่า ปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาวลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลา เพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามยาวลำตัว 2-3แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง(PH) ประมาณ6.5-7.5มีความ กระด้าง75-100มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียงเศษ3ส่วน4 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำนอกจากนั้นสถานที่เลี้ยงปลากัดไม่ควรที่จะเป็นที่โดนแสงแดด โดยตรง จะทำให้ปลาตายได้ในกรณีที่โดนความร้อนมากอุณหภูมิที่เหมาะสมควรจะเป็น25-28องศาC

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา
ปลากัดเป็นปลาที่ชอบบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่มีชีวิตเป็นอาหาร สำหรับลูกปลาวัยอ่อนนิยมให้ไรแดงกรอง สำหรับอาหารที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไรสีน้ำตาล ที่มีชีวิต อาหารที่มีชีวิตก่อนใช้เลี้ยง ต้องล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร)เป้นเวลา 10-20 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารหลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกคั้งหนึ่ง อาหารของปลากัดนอกจากใช้อาหาร มีชีวิตแล้ว สามารถฝึกหัดให้ปลากัดกินอาหารสำเร็จรูปได้อีกด้วย การให้อาหารควรให้วันละ 1-2 ครั้ง ให้ปริมาณที่พอดีปลากิน อิ่ม การให้อาหารที่มากเกินไปอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องน้ำให้มาก ปลามักจะกินอาหารประมาณ 5 นาที ในกรณีที่แยกขวดเลี้ยงปลากัดเป็นขวดละตัวแล้ว การให้อาหารนิยมที่จะใช้ลูกยางสีแดงที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ดูดอาหารและใส่ทีละขวด จะทำให้สะดวกยิ่งขึ้นการถ่ายน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ1-2 ครั้ง

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน ในปัจจุบันสามารถที่จะ ขึ้นไป ปลาเพศผู้นิยมคัดเลือกปลาที่มีอายุ5-6เดือน ในขณะที่ปลาเพศเมียเป็นปลาที่มีอายุ4เดือน เพื่อเป็นการป้องกันการกัด ผสมพันธุ์ปลาได้ตลอดปี โดยอุณหภูมิน้ำควรอยู่ระหว่าง26-28องศาC ปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่5-6เดือน กันในระหว่างที่ปล่อยผสมลงในขวดเดียวกัน ถ้าเลือกปลาเพศเมียที่แข็งแรงกว่าเพศผู้อาจจะมีปัญหาโดนปลาเพศเมียกัดตาย ปลาจะวางไข่ครั้งละประมาณ500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตุเห็นความสมบูรณ์ของเพศได้ชัด
ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์มีหลักควรปฎิบัติดังนี้ ปลาเพศผู้ คัดปลาที่แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว ลักษณะสีสด ปลาเพศมีโดยทั่วไปมีขนาดเล็ก มีสีเทา และมีลายตามแนวนาบ มีครีบสั้น ควรคัดเลือกแม่ปลาที่แข็งแรง ระยะนี้ควรบำรุงปลา เพศเมียให้มีความพร้อมมากที่สุด ควรให้อาหารที่มีชีวิต เมื่อปลาเพศมเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะสังเกตุเห็นบริเวณท้อง มีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นแสดงว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว ตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า"ไข่น้ำ"
ลักษณะที่ดีของปลากัด ลำตัวกลม รูปร่างเหมือนปลาช่อนหรือปลาชะโดลำตัวกรม รูปร่างเหมือนปลากะพงหรือปลาหมอหน้าแด้ง หรืองอนเชิด" ปากกว้าง ปากหนาสันคอหนา กระโดงใหญ่ โคนหางหรือแป้นใหญ่ตาเล็ก ตาดำ นัยน์ตาไม่ถลนหรือโปน เรียกว่า "ตาเรียด" ไม้เท้า หรือตะเกียบ สั้นใหญ่ และแข็งแรงพุงดำ หูน้ำใหญ่ เครื่องน้อย(ครีบและหางไม่ยาวเกินไป) ช่วงหน้าสั้น ช่วงท้ายยาว สีไม่แพรวพราว(เฉพาะปลาลูกทุ่ง ลูกป่า) เครื่องบาง เป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้เร็ว กัดเร็วว่องไว กระหม่อมสีอะไรก็ได้แต่ให้เหมือนสีตัวเป็นใช้ได้ เกล็ดหนาและเรียบแน่นลักษณะที่เป็นมงคลหรือที่เรียกกันในภาษาถิ่นใต้ว่า "หว้า"1.หูน้ำแดง2. เป็นปานดำที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง3. มีรูเล็ก ๆ ที่อวัยวะภายนอก ในที่ใดที่หนึ่ง แต่ไม่ควรมีเกิน 3 แห่ง เช่น อาจมีที่ไม้เท้า ที่หาง หรือที่กระโดง ฯลฯ ลักษณะเช่นนี้เรียกตามภาษานักเลงปลากัดว่า "ล่องลม"
ลักษณะที่ไม่ดีของปลากัด ลำตัวบางยาว ถือเป็นปลาที่ไม่แข็งแรง ปากเล็ก ปากบาง หัวสั้น หัวงอนลงล่าง เครื่องมาก ที่เรียกว่า "เครื่องแจ้" เคื่องเพชรหรือหางเพชร ไม้ท้าแพร คือ เป็นสีที่แพรวพราวเกินไป แต่ถ้าเป็นปลากัดพันธุ์หม้อหรือพันธุ์ทางห็ไม่ห้าม แก้มแท่น หมายถึง เกล็ดที่แก้มเป็นแผ่นใหญ่และมีสีแพรวพราว ส่วนมากมักเป็นสีเขียว กระโดวสีแดง หรือที่เรียกว่า "โดงแดง" สำหรับปลาลูกทุ่ง ลูกป่า ถือเป็นลักษณะที่ไม่ดี คือเป็นปลาใจน้อย ดังคำห้ามที่ว่า "วัวลั่นดา" ปลาโดงแดง อย่าแทงมาก " แต่ถ้าเป็นปลาพันธุ์ลูกหม้อหรือพันธุ์พันทางก็ไม่ห้าม ตาโปนหรือตาถลน แววตาเหมือนตาแมวหรือตางูสิง เครื่องหนาหรือทีเรียกว่าเครื่องทึบ เป็นปลาที่เคลื่อนไหวช้า ไม่ว่องไว ปราดเปรียว โคนหางหรือแป้นเล็ก มักเป็นปลาที่ไม่ค่อยมีกำลัง สันหลังขาวที่เรียกว่า "หลังเขียว" เป็นปลาใจน้อย ไม้เท้าสีขาวมากมักเป็นปลาไม้เท้าอ่อน เป็นปลาที่ไม่แข็งแรง และไม่มีน้ำอดน้ำทน หางดอก คือ หางที่มีจุดประทั่วไปในแพนหาง สีของปลากัด ลูกป่าดำเหมือนฐาน เรียกว่า "ดำเกล็ดหาย" หรือ "ดำเกล็ดจม" เขียวอมดำ เรียกว่า "เขียวดำ"เขียวคราม คือ เขียวอมน้ำเงิน เขียวใหญ่ คือ สีเขียวแก่ทั้งตัวเขียวลูกหวาย คือ สีเขียวอมแดงเขียวผักตบหรือสีเขียวอ่อน คือ มีสีเขียวเหมือนสีใบผักตบ บางแห่งเรียกว่า "เขียวทืบฟอง" เป็นปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่าชนิดเลวที่สุดคือ มักไม่ชนะคู่ต่อสู้เลยก็ว่าได้แดงปูนแห้ง หรือเรียกว่า "สีหมวนเชี่ยน"แดงอมดำ หรือที่เรียกว่า "สีลูกขรบ" (ตะขบ) หมายถึง สีที่คล้ายกับสีผลตะขบสุกแดงก่ำ เป็นสีแดงแก่แต่มีเกล็ดสีเขียวเล็กน้อยคล้ายผลระกำสุกแดงหมอตาย สีคล้ายกับสีปลาหมอตายเป็นสีแดงจาง ๆ ซีด ๆขาว เป็นสีขาวใสจนเห็นกระดูก เรียกว่า "ขาวเห็นก้าง" เป็นสีของปลากัดที่หายากที่สุด

การผสมพันธุ์ปลากัด




การผสมพันธุ์ปลากัด



การเทียบคู่



ก่อหวอด


ผสมพันธุ์




ปลากัด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens และมีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยงปลา ต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่มากนัก และไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากเนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า labyrinth โดยทำให้สามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้ ในธรรมชาติแล้วพบได้ทั่วไปในน้ำที่นิ่ง หรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นพบในนาข้าว และกระจายทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลากัดเลี้ยงมีอายุเฉลี่ย 2 ปีหรือน้อยกว่า
ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว มีลายตามตัว ครีบ และหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั่งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า "กัดป่า หรือ กัดทุ่ง" โดยมีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว มีการนำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่าง แข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ในกีฬากัดปลาซึ่งนิยมเรียกปลากัดชนิดนี้ว่า "กัดเก่ง" นอกจากนั้นปลากัดไทยนี้ยังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้มีสีสันสวยสด มีผู้เลี้ยงปลากัดหลายรายได้มีการพัฒนาปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์และผสมข้ามพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีน หรือ ปลากัดเขมร ซึ่งต่างประเทศรู้จัดปลากัดในนาม Siamese fighting fish
ในปัจจุบัน การพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดกำลังเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงปลากัดเพื่อความสวยงาม แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ปัจจุบันนี้ ปลากัดมีสีสรรสวยงามมากตั้งแต่ สีเหลืองทั้งตัว สีฟ้า Half moon มีเรื่องอ้างอิงกันมาถึงการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด โดยใช้สภาพแวดล้อมเป็นตัวเหนี่ยวนำ ด้วยมีความเชื่อว่า ปลาที่มีสีสรรสวยงามต่าง ๆ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของเพศเมีย ไปยังลูกปลา ได้มีการนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ในบรรดานักเพาะปลาทั้งหลายโดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสรรตามที่ต้องการ เช่น สีเหลืองทั้งตัว ตั้งวางโดยรอบปลาเพศเมียในระหว่างที่ทำการเทียบคู่นั้น วิธีการนี้เรียกว่า Pseudo-breeding technique ถึงแม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์ออกมาทางวิชาการแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะเลี้ยงทั้งหลายว่า พบว่าคอกหนึ่ง ๆ ที่ได้ลูกปลาออกมานั้นจะมี 1 - 2 ตัวที่มีลักษณะเหมือนกับภาพที่วาดไว้
เอกสารอ้างอิง : เอกสารประกอบการฝึกอบรม การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม กลุ่มฝึกอบรมเกษตรกร กองฝึกอบรม กรมประมง
ผู้เขียน : ปลากัด โดย คุณอมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล
วิธีการเพาะพันธุ์
นำขวดปลาเพศผู้และเมียมาวางติดกัน วิธีนี้เรียว่า เทียบคู่ ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลา ตกใจ ใข้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน จากนั้นนำปลาเพศผู้และเมียใล่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว อ่างดิน ใส่น้ำให้มีระดับ 5 เซนติเมตร เพื่อมิให้ตัวผู้เหนื่อยมากเกินไปในขณะที่ลำเลียงไข่ของตัวเมียไปไว้ที่รัง ซึ่งจะทำให้ ไข่เสียหายน้อย แล้วใส่พรรณไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่ สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวา เป็นต้น ควรจะมีฝาปิด ภาชนะที่ผสมพันธุ์ ตัวเมียจะเริ่มก่อหวดติดกับพรรณไม้น้ำ หลังจากสร้างหวอดเสร็จตัวผู้จะพองตีวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไป อยู่ใต้หวอด ขณะที่ตัวเมียลอยขึ้นมาบิรเวณผิวน้ำ ปลาตีวผู้จะรัดตัวเมียตรงบริเวณช่องอวัยวะเพศ จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาตัวผู้าจะตามลงไปใช้ปากดูดอมไข่ไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่า จะหมด เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนตัวเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ หลังจากนั้นรีบนำปลา ตัวเมียออกจากภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวเมียกินไข่ ปล่อยให้ปลาตัวผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกตัวผู้ออก ต้องระวังการกระแทก ที่จะทำให้ไข่ได้รับการเสียหาย

การอนุบาลลูกปลา วัยอ่อน

การอนุบาลลูกปลา วัยอ่อน


ไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ36 ชั่วโมง โดยในช่วงแรกจะมีถุงอาหาร ติดตัวมาด้วย ดังนั้นช่วง3-4 วันแรกจังยังไม่ต้องให้อาหาร หลังจากถุงอาหารยุบหมด ควรให้ใข่แดงต้มสุกกรองผ่านกระชอนตาถี่ให้อาหารวันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3-5 วัน แล้วจีงเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนของไรแดง ต่อมาจีงเปลี่ยนเป็นไรแดงตัวเต็มวัย เลี้ยงต่อไปจนกระทั่งปลาสามารถ กินลูกน้ำได้ประมาณ 5 สัปดาห์ ลูกปลาบางตัวจะเห็นสี ช่วงนี้อาจจะเร่งการเจริญเติบโตโดยเพิ่มการให้อาหารทีละน้อยอาจจะให้ได้ 3-4 ครั้ง/วัน ช่วงนี้ลูกปลาสามารถกินอาหารได้หลายชนิด เช่น หนอนแดง อาหารแผ่นบางผู้เลี้ยงสามารถแยกเพศปลากัดได้ เมื่อมี อายุประมาณ หนึ่งเดือนครึ่งขึ้นไป หากพบว่าปลามีอาการป่วยเป็นโรคอะไรถ้าไม่ทราบควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของกรมประมงได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์น้ำ ถ้าพบว่าปลาเป็นโรคที่เหมือนปุยฝ้ายตามลำตัวแสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับเชื้อรา ควรจะใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ถ้าพบว่าปลามีอาการของครีบและหางเปื่อยแสดงว่าเกิดจากน้ำสกปรกควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สะอาด

อนุบาลลูกปลา
2-3 วัน ไข่ก็ฟักออกเป็นตัว วันที่ 7 ก็เริ่มให้อาหารลูกไรแดง พร้อมกับช้อนพ่อปลาขึ้นเลี้ยงไว้ที่อื่น
เขาจะให้อาหารลูกปลากินวันละ 1 ครั้ง แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำเล็กน้อย ตามความเจริญเติบโตของลูกปลา
น้ำที่ใช้เลี้ยงและอนุบาลลูกปลาเป็นน้ำบาดาล
1 เดือน ลูกปลาโตจนเต็มพื้นที่ เขาจะขยายมาเลี้ยงในรองปูนซีเมนต์
รองปูนซีเมนต์นี้ก่อนนำมาใช้จะล้างทำความสะอาด หากเป็นของใหม่ควรแช่น้ำใส่ต้นกล้วยทิ้งไว้สัก 2-3 สัปดาห์ เพื่อดูดกรดจากปูนซีเมนต์ให้จางหายไป
"เมื่อล้างรองปูนฯ สะอาดแล้ว ก็ยกไปวางไว้ในที่ร่มหรือใต้ต้นไม้ก็ได้ จากนั้นนำดินเหนียวมารองพื้น ใส่ผักตบชวาลงไปสัก 4-5 ต้น เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ แล้วดูดน้ำเข้า โดยให้สูงประมาณ 40 เซนติเมตร"
เขาปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงในรองปูนซีเมนต์ แต่ยังไม่เปลี่ยนสูตรอาหาร ยังคงให้กินไรแดงไปเรื่อย ๆ จนปลาอายุครบ 2 เดือน ก็เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ โดยให้กินลูกน้ำวันละ 1 ครั้ง

เพาะขยายพันธุ์ปลากัด
สำหรับขั้นตอนการเพาะขยายพันธุ์ปลากัดนั้น เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์แล้ว คุณกิมไล้จะนำมาแยกเลี้ยงไว้ในขวดโหล แต่วางขวดชิดกัน และให้ขวดเลี้ยงปลากัดเพศผู้มีระดับน้ำสูงกว่าตัวเมียเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อมีพื้นที่ว่ายน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้แข็งแรงอยู่ตลอด
ภายในขวดเลี้ยงปลากัดเขาจะไม่ใส่วัชพืชอะไรเลย
"ช่วงนี้เราจะกินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้ปลาสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งอาหารที่ให้นั้นส่วนใหญ่เน้นลูกน้ำอย่างเดียว เพราะว่าหาได้สะดวก และปลาก็ชอบด้วย" คุณกิมไล้จะปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์ปลากัดเทียบคู่นานเกือบ 2 เดือน หรือจนกว่าปลาตัวเมียมีเม็ดไข่เล็ดคาช่องคลอด จากนั้นก็นำพ่อแม่ปลามาปล่อยเลี้ยงรวมกันในโอ่งดิน โดยให้มีระดับน้ำสูงเพียง 15 เซนติเมตร ภายในโอ่งจะใส่ต้นผักบุ้ง เพื่อให้ปลาก่อหวอดวางไข่นั่นเอง
"ส่วนใหญ่จะนำพ่อแม่ปลาใส่ในโอ่งดินช่วงเย็น ๆ แล้วใช้ไม้ปิดฝา ตกกลางคืนปลาตัวผู้เริ่มก่อหวอด และรัดตัวเมียแล้วนำไข่ไปไว้ที่หวอด กว่าไข่ตัวเมียจะหมด ตัวผู้ต้องรัดเป็นสิบครั้งเลยทีเดียว"
รุ่งเช้า คุณกิมไล้ เปิดฝาโอ่งดูไข่ และนำปลาตัวเมียออกจากโอ่ง ไม่เช่นนั้นปลาตัวเมียจะกินไข่เป็นอาหารได้
"ปลาตัวเมียนี้จะนำไปเลี้ยงไว้ที่เดิม คือขวดโหล และหาตัวผู้ใหม่มาเทียบคู่ ให้อาหารกินอย่างเต็มที่ ไม่เกิน 45 วัน ผสมพันธุ์ได้อีก ซึ่งผมจะใช้เป็นแม่พันธุ์ปลา ประมาณ 3 ครั้ง ก็โละทิ้งแล้ว หากนำมาใช้อีกกลัวลูกออกมาจะไม่แข็งแรง สู้ 3 ครั้งแรกไม่ได้ ลูกออกมาแข็งแรงเกือบทั้งหมด"
เขาจะปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่และอนุบาลลูกปลาไปตลอด
"ช่วงนี้เราไม่ต้องให้อาหารพ่อปลา และดูแลอะไรเป็นพิเศษ ไม่เกิน 5 วัน ไข่ก็จะฟักออกมาเป็นตัว ซึ่งเมื่อลูกปลาอายุได้ 3-4 วัน ให้กินอาหาร โดยใช้ใบผักบุ้งสัก 3 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วขยี้ให้เกิดเมือก หว่านให้ลูกปลาและพ่อปลากินเป็นอาหาร"
เขาให้ลูกปลากินผักบุ้ง วันละ 1 ครั้ง นานถึง 15 วัน
"หากเราให้อาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะไข่แดง ปลาจะโตไว แต่ไม่แข็งแรง จึงไม่นิยมใช้ สูตรอาหารผักบุ้งนี้ พ่อตาของผมเป็นผู้แนะนำ พร้อมบอกว่า เมื่อลูกปลากินเข้าไปแล้ว จะแข็งแรง แถมเนื้อและหนังจะเหนียวด้วย"
หลังจาก 15 วัน ไปแล้ว คุณกิมไล้จะหาไรแดงให้ลูกปลากินเป็นอาหาร ประมาณ 3 ช้อน

การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน

การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน

เมื่อปลาโตหรืออายุได้ 7-8 เดือน จะนำปลาขึ้นจากบ่อซีเมนต์ สักประมาณ 6-7 ตัว มาเลี้ยงในขวดโหลหมักใบตองแห้ง โดยใช้ใบตองของกล้วยน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้เกล็ดของปลาแข็งมากขึ้น ซึ่งเขาจะหมักปลาไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีกใบหนึ่ง โดยเลี้ยงน้ำสะอาด และไม่ต้องใส่วัชพืชลงไป ยกเว้นช่วงกลางคืนเขาจะหาต้นอะเมซอน หรือพรรณไม้น้ำขนาดเล็ก ๆ ใส่ลงในขวด เพื่อให้ปลากัดได้นอนพัก
"หลังจากเราหมักปลาได้ 7 วันแล้ว และจะเลี้ยงต่อไปอีกสัก 7-8 วัน ก่อนนำไปกัดเพื่อการแข่งขัน ซึ่งทุก ๆ วัน ช่วงเช้า นำปลาจากขวดโหล มาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เราเรียกว่า โหลพาน ภายในถุงจะมีปลาตัวเมีย 1 ตัว เมื่อเราปล่อยปลาลงไป ปลาตัวเมียจะไล่ปลาตัวผู้ ทำให้ปลาได้ออกกำลังกาย โดยปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนำมาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกใบหนึ่ง มีปลาตัวเมียอาศัยอยู่ 5 ตัว ซึ่งเราเรียกกันว่า โหลไล่ ปลาตัวผู้ก็จะเป็นฝ่ายไล่กัดปลาตัวเมียทั้ง 5 ตัว เพราะปกป้องตัวเอง เข้าใจว่า หากไม่ไล่กัด ปลาตัวเมียก็รุมกัด จำเป็นต้องต่อสู้ และไล่กัดตัวเมียทุกตัว ผมจะปล่อยทิ้งสัก 20 นาที ก็ช้อนหรือจับขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลใบเดิม และในช่วงเย็นจะหาลูกน้ำมาให้ปลากินเป็นอาหารวันละ 7 ตัว"
ก่อนนำไปแข่งขันเราจะพักปลาไว้ 1 วัน โดยไม่ให้อาหารและหยุดกิจกรรมออกกำลังกาย ยกเว้นให้ตัวเมียไล่หรือใส่ในโหลพาน 10 นาที เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"วิธีเลี้ยงปลากัด และวิธีการผสมพันธุ์ปลากัด พ่อตาสอนให้ผมทั้งนั้น และเมื่อนำปลาไปกัดเพื่อแข่งขันกัน ส่วนใหญ่ปลาของผมจะชนะคู่ต่อสู้ เมื่อปลาเราชนะ นักเลงปลากัดก็เข้ามาขอซื้อถึงบ้านเลย" คุณกิมไล้ ไม่ชอบกัดปลา เหตุที่เข้าบ่อนกัดปลา ก็เพื่อให้คนในวงการปลากัดได้รับทราบว่า มีปลาเก่ง ซึ่งส่งผลดีด้านการตลาดในเวลาต่อมา

เตรียมปลาก่อนเข้าแข่งขัน
หลังจากเขาคัดเลือกปลากัดได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็นำปลามาหมักน้ำใบหูกวาง โดยใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 7 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่รูปร่างอ้วนต้องใช้เวลา 15 วัน หรือหมักจนกว่าเกล็ดของปลาเรียบและแววมัน
เขาบอกว่า ใบหูกวางที่นำมาใช้นั้นต้องตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาแช่น้ำ จากนั้นนำน้ำดังกล่าวมาเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้หนังของปลาแข็งและเหนียว
ในช่วงหมักนี้เขาจะให้ปลากินลูกน้ำวันละ 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่มีรูปร่างอ้วนให้กินอาหาร 3 วัน ต่อครั้ง เพราะว่าให้อาหารมาก ปลาจะอ้วน เมื่อนำไปแข่งขันเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้
"หลังจากหมักปลาจนเกล็ดหรือรูปร่างดีแล้ว ก็นำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีก พร้อมกับใส่น้ำหมักใบหูกวางลงไปผสมเล็กน้อย หรือให้สีน้ำออกเหลืองนิด ๆ พร้อมกับใส่ปลาตัวเมียลงไปด้วย เพื่อต้องการให้ปลากัดตัวผู้คึก เมื่อเห็นว่าจะกัดปลาตัวเมีย ก็ให้ช้อนปลาตัวเมียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ก็ช้อนขึ้นแล้ว"
เขาจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปให้ปลาตัวผู้ไล่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ดำ เล่าว่า ช่วงเช้าหลังจากจับปลาตัวเมียขึ้นแล้ว จะนำปลาตัวผู้ไปปล่อยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงไล่ โดยปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว ลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ไล่กัด ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดี
เขาปล่อยให้ปลาตัวผู้ออกกำลังกาย ประมาณ 10 นาที จากนั้นช้อนปลาขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลเหมือนเดิม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษคลุมขวดอย่างมิดชิด ทั้งนี้เพื่อให้ปลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และป้องกันไม่ให้แมลงหรือมดมาเกาะที่บริเวณขวด ไม่เช่นนั้นปากของปลาบาดเจ็บได้ ด้วยการว่ายน้ำชนขวด เพื่องับเหยื่อ
ช่วงเย็นหลังจากปล่อยปลาตัวเมียและช้อนขึ้นแล้ว ก็ให้อาหารปลา โดยใส่ลูกน้ำลงในขวดประมาณ 7-10 ตัว
เขาจะเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว ประมาณ 7 วัน
"เราเลี้ยง 7 วัน โดยให้ออกกำลังกายทุกวัน ให้อาหารกินพอประมาณ และพักผ่อนเต็มที่ ปลาก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมแข่งขัน"
"อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปกัด ต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ประมาณ 2-3 วัน โดยหยุดกิจกรรมออกกำลังกายและอื่น ๆ ออกไป ยกเว้นอาหารยังจำเป็นต้องให้กิน แต่ต้องควบคุมปริมาณคือ หลังจากหยุดออกกำลังเย็นวันแรกให้กินลูกน้ำเต็มที่หรือประมาณ 10 ตัว เย็นวันที่สอง ลดลงเหลือประมาณ 5-6 ตัว เช้าวันที่สาม นำไปแข่งขันได้เลย" ดำ กล่าว
เขาบอกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปประลองหรือแข่งขันเราจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปเพื่อให้ปลาตัวผู้ไล่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายหมดแล้ว เราก็ช้อนปลากัดขึ้นมาใส่ในขวดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ขวดขาวกลม (ขวดน้ำปลา) แทนขวดโหลเดิม ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการเดินทาง เพราะว่ามีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่า"
"เมื่อเปลี่ยนขวดใหม่ เราก็เปลี่ยนถ่ายน้ำส่วนหนึ่งด้วย โดยคงสภาพน้ำเก่าไว้ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เติมน้ำใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์"
ก่อนออกเดินทางเขาจะใช้กระดาษห่อหุ้มอย่างมิดชิด เพื่อให้ปลาพักผ่อนเต็มที่ระหว่างเดินทาง

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะเกือบทุกครั้ง
เมื่อถึงสนามประลองหรือแข่งขัน จะมีนักเลงปลากัดเจ้าถิ่น คอยต้อนรับผู้มาเยือนอยู่แล้ว ซึ่งบางสนามมีปลาเป็นร้อยตัวทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสนามเล็กหรือสนามใหญ่
"ปัจจุบันนี้มีคนสนใจเรื่องปลากัดกันมาก และต่างคนพยายามเสาะหาปลากัดเก่ง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านด้วย ใครตาถึงหรือมีเส้นสายดีก็มีปลาเก่ง ๆ ไว้ประดับบารมี"
อย่างไรก็ตาม ในการประลองนั้น ชัยชนะมิใช่มาจากสายพันธุ์ปลาเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ อาทิ น้ำเลี้ยงหรือขั้นตอนการเลี้ยง (ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว) และวิธีการเปรียบเทียบคู่ต่อสู้ เป็นต้น
เขาบอกว่า ในการเปรียบเทียบปลากัด เพื่อแข่งขันกันนั้น ต้องดูลักษณะผิว หรือเกล็ดคู่ต่อสู้ หากเป็นผิวเรียบหรือเกล็ดมัน แสดงว่า ปลาสมบูรณ์ และแข็งแรงด้วย ตรงกันข้ามถ้าปลาตัวไหนผิวหรือเกล็ดไม่เรียบ และเวลาพองครีบและหางจะกางไม่เต็มที่ แสดงว่าปลาไม่สมบูรณ์
นอกจากนี้ เขาจะดูลักษณะปากและสี รวมทั้งท้องของปลาคู่ต่อสู้ด้วย หากปากใหญ่และสีดำเกินไป ก็แสดงว่า มีสายเลือดปลาหม้อสูง ไม่ควรกัด ควรให้ปากและสีคล้าย ๆ กัน แต่ถ้าพบว่า ท้องใหญ่ อ้วน ก็แสดงว่า ปลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าปากจะใหญ่ ก็ไม่สามารถสู้ปลาที่เลี้ยงมาสมบูรณ์ได้
"เราจะใช้วิธีการสังเกตตามลักษณะดังกล่าว ถ้าดูแล้ว คู่ต่อสู้ไม่สมบูรณ์ แม้ว่าขนาดลำตัวจะโตกว่าก็ตาม เราก็ไม่กลัว สามารถแข่งขันประลองฝีมือกันได้เลย รับรองว่า โอกาสแพ้แทบไม่ค่อยมีให้เห็น" ดำ กล่าว

ข้อควรระวัง
ดำ บอกว่า เมื่อนำปลาเข้าสู่สนามประลองควรหากระดาษหรือถุงพลาสติกปิดปากขวดด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการวางยา
"วงการปลากัดก็เหมือนกับวงการไก่ชน และวัวชน มีการเล่นกันสกปรก คือพยายามเสาะหายาดีหรือสมุนไพร มาใช้ทำลายคู่ต่อสู้กัน เพื่อให้ปลาหรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้กันมาก ดังนั้น ทางที่ดีเราต้องรู้จักป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ถ้าแพ้หรือชนะก็ให้อยู่ในเกมแข่งขัน ซึ่งผมมีความภาคภูมิใจมาก"
เมื่อผ่านขั้นตอนเทียบคู่ต่อสู้เสร็จแล้ว และถึงเวลาประลอง ดำ บอกว่า ควรมีความระวังเป็นเป็นพิเศษ ไม่ว่าน้ำ หรือภาชนะที่ใช้ ต้องมาจากส่วนกลาง ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์วางยาได้เหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้น้ำกลางกัน กล่าวคือ ซื้อน้ำขวดหรือโพลาริสมาใส่ในขวดโหลที่ทางเจ้าของสนามจัดไว้ให้ จากนั้นช้อนปลาทั้งคู่ลงในสวิง ล้างในน้ำสะอาด แล้วนำใส่ลงในขวดโหลที่เตรียมไว้ต่อสู้ดังกล่าว โดยไม่ให้น้ำเดิมหรือน้ำเก่าปะปนลงในขวดโหลเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันยาหรือสิ่งไม่พึงประสงค์
เขาบอกว่า ที่ผ่านมาเขาเคยมีประสบการณ์ปลาถูกวางยามาแล้ว 2-3 ครั้ง ซึ่งสังเกตได้จากมีลักษณะผิวหนังหรือเนื้อหลุดออกได้ง่าย นอกจากนี้ตาจะบอดทั้ง 2 ข้างด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ถูกกัดบริเวณตาเลย
"หากเราชอบด้านนี้ก็ต้องรู้จักระวัง ป้องกันไว้ดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้" ดำ กล่าว